แนวทางการดำเนินงานด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา ตามมาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
การสร้างความตระหนักเรื่องการการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ การใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ผิด และบทลงโทษที่เกี่ยวข้อง
1) ควรมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์ที่ชัดเจน และควรสอนให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
2) ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักและองค์ความรู้ในเรื่องของการรู้เท่าทันสื่อ ให้กับเด็ก และเยาวชน และพ่อแม่ผู้ปกครอง
3) พ่อแม่ผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการบริโภคสื่อ และมีข้อตกลงเรื่องการใช้สื่อที่สมเหตุสมผลกับลูก
4) โรงเรียนควรมีหลักสูตรรู้เท่าทันสื่ออย่างเป็นรูปธรรมทั้งในรูปแบบเนื้อหาสาระในบทเรียน และจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน
5) สื่อมวลชนต้องคำนึกถึงจรรยาบรรณเป็นหลัก ควรพัฒนามาตรฐานในการนำเสนอ และคำนึงถึงเด็กและเยาวชนในฐานะผู้รับสื่อ โดยมีส่วนร่วมในการคุ้มครองเด็กและเยาวชน
6)ควรมีองค์กรทำหน้าที่ควบคุมดูแลจรรยาบรรณของสื่อให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมกลไกเฝ้าระวังสื่อที่ทำลายสังคม
7) รัฐควรมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนผ่านสถาบันต่างๆ โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน
ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างขาดการรู้เท่าทัน
1) ผลกระทบด้านร่างกาย พบว่า การติดสื่อสังคมออนไลน์เป็นเวลานานทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดท้อง เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย โรคความดัน อาการลมชัก ปัญหาสายตา เป็นต้น นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อสมองส่วนหน้าทำให้มีขนาดเล็กและมีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทสมองส่วนหน้าลดลง (คอลัมน์การศึกษา สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันที่ 4 เมษายน 2557 โดยเสมาธิการ)
2) ผลกระทบด้านจิตใจและอารมณ์ ส่งผลให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับการเล่นเกมออนไลน์ได้ รวมทั้งความคิด อารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง เนื่องจากเด็กและเยาวชนยังไม่สามารถแยกแยะสถานการณ์จริงกับจินตนาการหรือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งการขาดทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
3) ผลกระทบในครอบครัว พบว่า ครอบครัวขาดความอบอุ่น สัมพันธภาพในครอบครัวลดลง เกิดความ ไม่เข้าใจและความขัดแย้งในครอบครัว
4) ผลกระทบด้านสังคม ก่อให้เกิดการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อในการถูกล่อลวงจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมะสม
การสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการสื่อสารออนไลน์ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและเฝ้าระวังการใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ผิด
พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชน และครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ สามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และดำเนินการส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
สร้างกลไกการเฝ้าระวังและติดตามและแจ้งเตือนสถานการณ์การซื้อขายยาเสพติดผ่านสื่อออนไลน์
สถานศึกษาแจ้งเตือนไปยังผู้ปกครองในการสอดส่อง ดูแล ระวังบุตรหลานอย่างใกล้ชิด โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนของสังคม อาทิ เยาวชน ประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน เกิดความรู้ ความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภัยร้ายของสังคม และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนร่วมเป็นหูเป็นตา เฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดมากยิ่งขึ้น และเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ผ่านการสร้างกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ ในครอบครัวหรือในช่องทางอื่นๆ ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมไทยปลอดภัยจากยาเสพติด
ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแส สายด่วน 1579 ของกระทรวงศึกษาธิการและสายด่วน 1386 ของสำนักงานป.ป.ส. 5 แจ้งเบาะแสยาเสพติด หรือสายด่วนเฝ้าระวังสื่อออนไลน์ของหน่อยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำเด็กและเยาวชนในการเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์
มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนในโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัล ที่ผู้คนทั่วโลกติดต่อสื่อสารเข้าถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารมากมายอยู่ในโลกโซเชียล ซึ่งมีทั้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์และโทษแก่ผู้นำไปใช้งาน มุ่งให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างรอบคอบและรอบด้าน เมื่อจะหยิบข้อมูลข่าวสารมาใช้ประโยชน์หรือก่อนเผยแพร่ แชร์ข้อมูลนั้นๆ รวมถึงการโพสต์เรื่องราว ภาพถ่ายบนสื่อโซเชียลส่วนตัว จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทั้งแง่บวกและแง่ลบต่อตัวเอง คนรอบข้างและสังคมด้วย การวิเคราะห์สื่อ แยกแยะข้อมูลและข่าวสารต่างๆ เช่น ข่าวจริง ข่าวปลอม การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคสื่ออย่างปลอดภัย สร้างสรรค์ ไม่ทำผิดกฎหมายและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลก่อนนำเสนอ คำนึงถึงผลกระทบต่อตนเอง คนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในสื่อออนไลน์อยู่เสมอ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ให้ความรู้กับเด็กและเยาวชน ประชาชนในการรู้เท่าทันสังคมโลก สามารถเลือกสรร กลั่นกรอง นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดีในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้นักเรียนรู้เท่าทันสื่อในสังคมโลกยุคดิจิทัล เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของ "เฟคนิวส์" ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์แทบทุกวัน
|
โพสเมื่อ :
28 ส.ค. 2564,15:54
อ่าน 3674 ครั้ง
|